กิจกรรมวันที่ 13-17 ธันวาคม 53


ตอบ ข้อ 1.

อธิบาย

ม้าน้ำเป็นปลา ทะเลชนิดหนึ่งเนื่องจากเป็นสัตว์ที่หายใจด้วยเหงือก มีการเคลื่อนที่ไปมาและควบคุมทิศทางด้วยครีบ มีเกราะปกคลุมลำตัว ซึ่งเป็นลักษณะของปลานั่นเอง เพียงแต่ม้าน้ำเป็นสัตว์ที่มีรูปร่างแปลก คือมีส่วนหัวเหมือนม้า อยู่ในตระกูล GENUS เพียงหนึ่งเดียวเท่านั้น แม้ม้าน้ำทั่วโลกก็ถูกจัดให้อยู่ในสกุล Hippocampus ของครอบครัว Syngnathidae แต่เพราะความแปลกประหลาดของเจ้าม้าน้ำในด้านรูปพรรณสัณฐาน วงจรชีวิตที่แตกต่างไปจากปลา เหนือสัตว์ทะเลโดยทั่วไปนี้เอง ทำให้การจัดแบ่งชนิดของม้าน้ำในระดับชนิด Species ยังมีความสับสนอยู่มาก แต่ก็มีการประมาณการกันไว้ว่า ม้าน้ำที่พบได้ในน่านน้ำทั่วโลก 6 ทวีปคือ อเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ ยุโรป แอฟริกา ออสเตรเลีย และเอเชียนั้น น่าจะมีอยู่ประมาณ 35 ชนิด
ม้าน้ำเป็นปลา 




 ที่มา :       
http://www.school.net.th/library/create-web/10000/science/10000-8052.html







ตอบ ข้อ 4.

อธิบาย

สำหรับสัตว์น้ำ เช่น ปลา  น้ำแร่ธาตุต่างๆจะเคลื่อนที่เข้าออกระหว่างเซลล์กับสิ่งแวดล้อมตลอดเวลาทั้ง นี้ขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของสารละลายในร่างกายกับในสิ่งแวดล้อม

           ใน กรณีปลาน้ำจืด  ของเหลวในร่างกายมีความเข้มข้นสูงกว่าน้ำที่อยู่รอบๆ  น้ำจึงเข้าสู่ร่างกายด้วยกระบวนการออสโมซิส  โดยเข้าสู่เซลล์บริเวณเหงือกของปลา  แต่น้ำไม่สามารถผ่านเข้าผิวหนังหรือเกล็ดปลาได้  และเมื่อปลากินอาหาร  น้ำก็จะผ่านเข้าสู่ร่างกายทางปากพร้อมกับอาหารด้วย  ปลาน้ำจืดจึงขับถ่ายปัสสาวะบ่อย  และปัสสาวะค่อนข้างเจือจางนอกจากนั้น  แร่ธาตุในร่างกายอาจสูญเสียไปบ้างทางเหงือก  แต่ในขณะเดียวกันในบริเวณเหงือกมีเซลล์พิเศษคอยดูดซึมแร่ธาตุที่จำเป็นกลับ คืนเข้าสู่ร่างกาย  ด้วยวิธีการลำเลียงแบบใช้พลังงาน

                              
 ที่มา:
http://km.vcharkarn.com/other/mo6/48-2010-06-30-08-15-30








ตอบ ข้อ 2.

อธิบาย
  
นิดของสัตว์เลือดอุ่น
ประเภทของสัตว์เลือดอุ่นคือสัตว์จำพวกนกและสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น คน ช้าง แมวน้ำ ปลาวาฬ สุนัข นก เป็นต้น
ชนิดของสัตว์เลือดเย็น
ประเภทของสัตว์เลือดเย็นคือสัตว์จำพวกสัตว์ที่ไม่เลี้ยงลูกด้วยนมหรือสัตว์เลื้อยคลาน เช่น งู จิ้งเหลน กบ คางคก อึ่งอ่าง ตุ๊กแก เป็นต้น

ที่มา :
http://www.school.net.th/library/create-web/10000/science/10000-8052.html








ตอบ ข้อ 2.

อธิบาย

ความผิดปกติของเม็ดเลือดขาว
เช่น เม็ดเลือดขาวต่ำทำให้ติดเชื้อง่าย แต่ถ้าเม็ดเลือดขาวสูงอาจเกิดภาวะการอักเสบติดเชื้อ หรือเป็นภาวะของโรคมะเร็งในเม็ดเลือดขาว หรือ โรคลิวคีเมียได้



ที่มา:
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=153499







ตอบ ข้อ 3.

อธิบาย

  1. คนที่มีหมู่เลือด O ซึ่งไม่มี antigen และแอนติบอดี จึงสามารถให้เลือดได้ทุก
    หมู่เลือด แต่จะสามารถรับได้เฉพาะหมู่เลือด O เท่านั้น
  2. คน ที่มีหมู่เลือด AB ไม่สามารถให้เลือดแก่หมู่อื่นทั้ง A, B และ O เพราะมี antigen ทั้ง A, B ถ้าให้แก่ผู้รับอาจจะเกิดการตกตะกอนของเลือดได้ แต่หมู่เลือด AB สามารถรับเลือดได้ทุกหมู่
  3. ใน ทางปฏิบัติ การให้เลือดจะต้องตรงหมู่กันเท่า
  4. เลือดของผู้ให้จะต้องไม่มี antigen ที่ผู้รับมีแอนติบอดีนั้น
  5. นั้น (ยกเว้นกรณีฉุกเฉินจำเป็นจริงๆ) เนื่องจากถ้าถ้าเป็นเลือดต่างหมู่ อาจจะทำปฏิกริยากันและทำให้เกิดการแตกของเม็ดเลือดแดงได้

ที่มา : 
http://www.vachiraphuket.go.th/www/public-health/index.php?name=knowledge&file=readknowledge&id=111





ตอบ ข้อ 2.

อธิบาย

มิวเทชัน (mutation) หรือ การ กลายพันธุ์หมายถึงการเปลี่ยนแปลงลักษณะพันธุกรรมและลักษณะที่เปลี่ยนแปลง สามารถจะถ่ายทอดจากชั่วอายุหนึ่งได้  แบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ

  1. มิวเทชันระดับโครโมโซม(chromosome mutation)คือการกลายพันธุ์ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงโครโมโซม  อาจจะเป็นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของโครโมโซมหรือการเปลี่ยนแปลงจำนวน โครโมโซม
  2. มิวเทชันระดับยีน(gene mutation หรือpoint mutation)คือการเปลี่ยนแปลงจากยีนหนึ่งไปเป็นอีกยีนหนึ่งซึ่งป็นผลจากการ เปลี่ยนแปลงนิวคลีโอไทด์ในโมเลกุลของดีเอ็นเอ

การเกิดมิวเทชัน

การเกิดการมิวเทชันแบ่งออกได้เป็น  2  ชนิดคือ
  1. มิวเทชันที่เกิดขึ้นเองในธรรมชาติ  (spontaneous mutstion) อาจเกิดขึ้นเนื่องจากรังสี สารเคมี อุณหภูมิในธรรมชาติ ซึ่งสิ่งต่างๆเหล่านี้ทำให้เกิดการเปลี่ยนตำแหน่งไฮโดรเจนอะตอมในโมเลกุลของ เบส(tautomeric shift)หรือการสูญเสียไฮโดรเจนอะตอมในโมเลกุลของเบส(ionization)ทำให้การจับ คู่ของเบสผิดไปจากเดิมมีผลทำให้เกิดการแทนที่คู่เบสแบบแทรนซิชันหรือทรา สเวอร์ชัน  ทำให้รหัสพันธุกรรมเปลี่ยนไป  แต่อัตราการเกิดมิวเทชันชนิดนี้จะต่ำมากเช่น เกิดในอัตรา 10-6 หรือ10-5
  2. การมิวเทชันที่เกิดจากการชักนำ (induced mutation) เป็นการกลายพันธุ์ที่เกิดจากมนุษย์ใช้สิ่งก่อกลายพันธุ์(mutagen)ชักนำให้เกิดขึ้นซึ่งสิ่งก่อกลายพันธุ์มีดังนี้
    1. สิ่งก่อกลายพันธุ์ทางกายภาพ (physical mutagen)ได้แก่ อุณหภูมิ รังสีต่างๆ รังสีสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้
      • รังสีที่ก่อให้เกิดไอออน (ionizing radiation) รังสีประเภทนี้มีอำนาจในการทะลุทะลวงผ่านเนื้อเยื่อได้สูง ซึ่งมักจะทำให้เกิดการแตกหักของโครโมโซม  ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของโครโมโซมรังสีเหล่านี้ได้แก่  รังสีแอลฟา เบตา แกมมา นิวตรอนซ์ หรือรังสีเอ็กซ์
      • รังสีที่ไม่ก่อให้เกิดไอออน (non ionizing radiation) รังสี ประเภทนี้มีอำนาจในการทะลุทะลวงผ่านเนื้อเยื่อได้ต่ำมักจะทำ ให้เกิดไทมีนไดเมอร์ (thymine dimer) หรือไซโทซีนไดเมอร์(cytosine dymer) รังสีประเภทนี้ได้แก่รังสีอัลตราไวโอเลต(UV)
    2. สิ่งก่อกลายพันธุ์ทางเคมี (chemical mutagen) ได้แก่สารเคมีต่างๆซึ่งมีหลายชนิดเช่น
      • สารเคมีที่มีสูตรโครงสร้างคล้ายคลึงกับเบสชนิดต่างๆ ของดีเอ็นเอ (base analogues) ซึ่งสามารถเข้าแทนที่เบสเหล่านั้นได้ระหว่างที่เกิดการจำลองโมเลกุลของดี เอ็นเอ ทำให้เกิดการแทนที่คู่เบสและรหัสพันธุกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปสารเคมีเหล่านี้ ได้แก่5-โบรโมยูราซิล  2-อะมิโนพิวรีน5-โบรโมยูราซิล   มีสูตรโครงสร้างคล้ายคลึงกับไทมีน เมื่อเกิดการจำลองโมเลกุลของดีเอ็นเอจะสามารถเข้าไปแทนที่ไทมีนได้ และสามารถเกิดtautomericหรือionizationได้ซึ่งเมื่อเกิดแล้วแทนที่จะจับคู่ กับอะดินีน จะไปจับคู่กับกัวนีน เมื่อมีการจำลองโมเลกุลต่อไปอีกจะทำให้เกิดการแทนที่คู่เบสขึ้นได้
      • สารเคมีที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสูตรโครงสร้างของเบส ซึ่งมีผลทำให้เกิด การแทนที่คู่เบสเช่นเดียวกัน ทำให้รหัสพันธุกรรมเปลี่ยนแปลงไปสารเคมีเหล่านี้ได้แก่  กรดไนตรัส  ไฮดรอกซิลลามีน ไนโตรเจนมัสตาด เอธิลมีเทนซัลโฟเนต      กรดไนตรัส จะทำหน้าที่ดึงหมู่อะมิโนออกจากโมเลกุลของเบสอะดินีน ไซโทซีน และกัวนีนทำให้เบสอะดีนีนเปลี่ยนเป็นไฮโปแซนทีน ซึ่งสามารถจับคู่กับเบสไซโทซีนได้ เบสไซโทซีนเปลี่ยนเป็นยูราซิลซึ่งสามารถจับคู่กับเบสอะดีนีนได้และเบสกัวนีน เปลี่ยนเป็นแซนทีน ซึ่งสามารถจับคู่กับเบสไซโทซีนได้ดังนั้นเมื่อเกิดการจำลองโมเลกุลของดีเอ็น เอจะทำให้เกิดการแทนที่คู่เบสแบบแทรนซิชัน
      • สารเคมีที่ทำให้เกิดการเพิ่มและการขาดของนิ วคลีโอไทด์ในโมเลกุลของ ดีเอ็นเอซึ่งมีผลทำให้รหัสพันธุกรรมเปลี่ยนแปลงไป สารเคมีเหล่านี้ได้แก่  สีย้อมเช่น อะคริดีน ออเรนจ์,โพรฟลาวีน   โมเลกุลของอะคริดีน ออเรนจ์ หรือโพรฟาวีนสามารถเข้าไปแทรกอยู่ระหว่างนิวคลีโอไทด์ในโมเลกุลของดีเอ็นเอ หรือทำให้โมเลกุลของนิวคลีโอไทด์ที่ถูกแทรกโดย อะคริดีน ออเรนจ์ หรือโพรฟาวีนหลุดออกมา เมื่อมีการจำลองโมเลกุลของดีเอ็นเอ  จะได้โมเลกุลของดีเอ็นเอที่มีการเพิ่มของนิวคลีโอไทด์และการขาดหายไปของนิ วคลีโอไทด์   ยีนที่เปลี่ยนแปลงไปนี้อาจจะกลายเป็นยีนเด่นหรือยีนด้อยก็ได้  หรืออาจทำให้เกิดการตายขึ้นได้(lethal  gene)
โรคโลหิตจางชนิดซิกเคิลเซลล์ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงลำดับเบสในยีนเป็นตัวอย่างของการเกิดมิวเทชัน
โรคโลหิตจางชนิดซิกเคิลเซลล์ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงลำดับเบสในยีน http://www.mwit.ac.th/~bio/script/mutation.pdf


ที่มา : 
http://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type2/science04/27/contents/genetics-8816.html







ตอบ ข้อ 4.

อธิบาย

ที่มา : 





ตอบ ข้อ 2.

อธิบาย

มิวเทชัน (mutation) หรือ การ กลายพันธุ์หมายถึงการเปลี่ยนแปลงลักษณะพันธุกรรมและลักษณะที่เปลี่ยนแปลง สามารถจะถ่ายทอดจากชั่วอายุหนึ่งได้  แบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ

  1. มิวเทชันระดับโครโมโซม(chromosome mutation)คือการกลายพันธุ์ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงโครโมโซม  อาจจะเป็นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของโครโมโซมหรือการเปลี่ยนแปลงจำนวน โครโมโซม
  2. มิวเทชันระดับยีน(gene mutation หรือpoint mutation)คือการเปลี่ยนแปลงจากยีนหนึ่งไปเป็นอีกยีนหนึ่งซึ่งป็นผลจากการ เปลี่ยนแปลงนิวคลีโอไทด์ในโมเลกุลของดีเอ็นเอ

ที่มา : 
http://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type2/science04/27/contents/genetics-8816.html






ตอบ ข้อ 4.

อธิบาย

ความหมายง่าย ๆ ของดีเอ็นเอ คือ ตัวกำหนดลักษณะต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิตไม่ว่าจะเป็นลักษณะที่ปรากฏออกมาเป็นรูปลักษณ์ภายนอกหรือ ลักษณะที่มองไม่เห็นซึ่งอยู่ภายใน สิ่งมีชีวิตต่าง ๆ บนโลกนี้ไม่ว่าจะเป็นเชื้อโรค ต้นไม้ สัตว์ต่าง ๆ รวมถึงมนุษย์จะถูกกำหนดลักษณะต่าง ๆ โดยดีเอ็นเอ ดีเอ็นเอหรือสารพันธุกรรมในร่างกายมนุษย์นั้นจะบรรจุอยู่ในแกนกลางของเซลล์ ซึ่งเปรียบเหมือนไข่แดงที่เราเห็น ๆ กันอยู่ทุกวัน สำหรับเซลล์ต่าง ๆ นั้นก็จะประกอบขึ้นเป็นอวัยวะต่าง ๆ และรวมกันเป็นร่างกายของมนุษย์ ดังนั้น ในทุกส่วนของร่างกายไม่ว่าจะเป็นเศษชิ้นเนื้อ เส้นผม ผิวหนัง เลือด น้ำเหลืองหรือน้ำลาย เป็นต้น ก็จะมีดีเอ็นเอประกอบอยู่ทั้งสิ้น 


ที่มา : 
http://women.thaiza.com/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%88%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%88%E0%B8%99%E0%B9%8C+%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%AD-194648.html






ตอบ ข้อ 1.

อธิบาย

ครมาทินใช้เรียกขณะ โครโมโซมอยู่ในระยะอินเตอร์เฟส หรือ ปลายระยะเทโลเฟส ค่ะ ซึ่งหมายถึงลักษณะของโครโมโซมที่ยังไม่ขดตัวจนมีรูปร่างเป็นแท่งชัดเจน

เมื่อเข้าสู่ระยะ prophase โครโมโซม(โครมาทิน) จะขดตัวเป็นแท่งมีรูปร่างคล้ายกากบาท เราเรียกว่าแท่งโครโมโซม ซึ่ง
โครโมโซม ที่มีลักษณะเป็นกากบาทนี้ มี 2 แขน แขนของโครโมโซมเราเรียกว่า "โครมาทิด" (ดังนั้นในระยะโปรเฟสเราจึงเห็น 1 โครโมโซมจะมี 2 โครมาทิด) แต่เมื่อเข้าสู่ระยะแอนนาเฟส แต่ละโครมาทิด หรือแต่ละแขนจะแยกออกจากกันไปแต่ละด้านของขั้วเซลล์ ทำให้ระยะนี้เห็น 1 โครโมโซมมีแค่ 1 โครมาทิด

สรุปนะค่ะ โครมาทิน และ โครมาทิดต่างก็เป็นโครโมโซมเหมือนกัน แต่โครมาทินคือ โครโมโซมที่ยังไม่ขดตัวเป็นแท่ง ส่วนโครมาทิดคือแต่ละแขนของโครโมโซมที่ขดตัวเป็นแท่งแล้ว 


ที่มา : 
http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=63a9f0ef4dd948d6&pli=1






ตอบ ข้อ 4.

อธิบาย


หมู่เลือดของพ่อ-แม่-ลูก
  1. พ่อ A + แม่ A = มีโอกาสได้ลูกเป็นหมู่เลือด A, O
  2. พ่อ B + แม่ B = มีโอกาสได้ลูกเป็นหมู่เลือด B, O
  3. พ่อ AB + แม่ AB = มีโอกาสได้ลูกเป็นหมู่เลือด A, AB, B
  4. พ่อ O + แม่ O = มีโอกาสได้ลูกเป็นหมู่เลือด O เท่านั้น
  5. พ่อ A + แม่ B = มีโอกาสได้ลูกเป็นหมู่เลือด A, B, AB, O
  6. พ่อ A + แม่ AB = มีโอกาสได้ลูกเป็นหมู่เลือด A, AB, B
  7. พ่อ B + แม่ AB = มีโอกาสได้ลูกเป็นหมู่เลือด A, AB, B
  8. พ่อ AB + แม่ O = มีโอกาสได้ลูกเป็นหมู่เลือด A, B
  9. พ่อ A + แม่ O = มีโอกาสได้ลูกเป็นหมู่เลือด A, O
  10. พ่อ B + แม่ O = มีโอกาสได้ลูกเป็นหมู่เลือด B, O
  11. พ่อ A + แม่ B = มีโอกาสได้ลูกเป็นหมู่เลือด A, B, AB, O

ที่มา : 
http://www.vachiraphuket.go.th/www/public-health/index.php?name=knowledge&file=readknowledge&id=111






ตอบ ข้อ 2.

อธิบาย

จีเอ็มโอ (GMOs – Genetically Modified Organisms) คือ สิ่งมีชีวิตที่ได้รับการดัดแปรพันธุกรรมเป็นผลผลิตจากการใช้เทคโนโลยีพันธุ วิศวกรรม (เทคนิกการตัดต่อยีน) ในพืช สัตว์ หรือจุลินทรีย์ เพื่อให้มีคุณสมบัติหรือคุณลักษณะเฉพาะเจาะจงตามที่ต้องการ เช่น ต้านทานแมลงศัตรูพืช คงทนต่อสภาพแวดล้อมหรือเพิ่มสารโภชนาการบางชนิด เช่น วิตามิน 
การพิจารณาว่าจีเอ็มโอปลอดภัยต่อผู้บริโภคและ/หรือสิ่งแวดล้อมหรือไม่นั้น จะต้องผ่านการทดสอบหลายด้านเพื่อให้ได้ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่เชื่อถือได้ เนื่องจากสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดมีความหลากหลายทางพันธุกรรม และมีบทบาทในสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกันไป และก่อนที่ผู้ลิตรายใดจะนำจีเอ็มโอ หรือผลผลิตจากจีเอ็มโอแต่ละชนิดออกไปสู่ผู้บริโภคได้นั้น จะต้องได้รับการประเมินความปลอดภัยจากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ต้องอาศัยผู้ทรงคุณวุฒิในแต่ละสาขาเพื่อให้มั่นใจว่าผลิตภัณฑ์นั้นๆ มีความปลอดภัยเทียบเท่ากับผลิตภัณฑ์ในลักษณะเดียวกันที่มีอยู่แล้วใน ธรรมชาติ ดังนั้นจึงถือได้ว่าผลิตภัณฑ์จีเอ็มโอทุกชนิด ทั้งที่นำมาบริโภคเป็นอาหาร หรือนำมาปลูกเพื่อจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ มีความปลอดภัย



ที่มา : 
http://www.pramot.com/gmo/gmoques.html






ตอบ ข้อ 2.

อธิบาย

ที่มา : 





ตอบ ข้อ 1.

อธิบาย




ที่มา : 







ตอบ ข้อ 1.

อธิบาย

ไวรัสไข้หวัดนกหรือไวรัสสายพันธุ์ H5N1

ไวรัสไข้หวัดนกที่ระบาดในประเทศไทยเมื่อต้นปี 2004 มีชื่อเรียกว่า A/Chicken/Nakorn-Pathom/Thailand/CU-K2/04 (H5N1) ซึ่งเป็นไวรัสที่มีลักษณะก่อให้เกิดโรครุนแรง จัดเป็นชนิด highly pathogenic AI (HPAI) ซึ่งเชื้อที่แยกได้จากไก่จะมีลักษณะใกล้เคียงกับไวรัสไข้หวัดนกที่แยกเชื้อ ได้จากเป็ดในการระบาดที่ประเทศจีนเมื่อปี 2003 มากที่สุด A/Duck/China/E319.2/03 (H5N1) จากการศึกษารหัสพันธุกรรมของไวรัส พบว่ามี 20-codon deletion ในยีน neuraminidase และ 5-codon deletion ในยีน NS รวมทั้งพบ polymorphisms ของยีน M2 และยีน PB2 อีกด้วย 
ไข้หวัดนกเป็นไข้หวัดใหญ่ชนิดหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคในสัตว์ปีก แตกต่างที่ส่วนประกอบที่ผิวของไวรัส คือ ฮีแมกกลูตินินและนิวรามินิเดสเป็นคนละชนิดที่ทำให้เกิดโรคในคน เชื้อที่ทำให้เกิดโรคในคน ฮีแมกกลูตินินจะเป็น H1 หรือ H2 หรือ H3 แต่ของนกมีตั้งแต่ H1 ถึง H15 ส่วนนิวรามินิเดสของคนมีแต่ชนิด N1 และ N2 ส่วนของนกมีตั้งแต่ N1-N9 เชื้อไข้หวัดใหญ่ของคนที่มีอยู่ในประเทศไทยในปัจจุบัน คือ Influenza A ชนิด H1N1, H1N2, H3N2 และ Influenza B ส่วนเชื้อที่มาจากนกและสร้างปัญหาให้แก่ประเทศไทยคือ Influenza A H5N1 


ที่มา : 
http://bhumibol.panyathai.or.th/wiki/index.php/%E0%B9%84%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%AA%E0%B9%84%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B9%84%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%AA%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B9%8C_H5N1

3 ความคิดเห็น: