กิจกรรมวันที่ 24-28 มกราคม 54








ตอบ 3

ในยุคสมัยที่มีการใช้พลาสติกทั่วไปนั้น มีขยะพลาสติกเป็นปริมาณมากมายท่วมท้นตามที่ทิ้งขยะในประเทศต่างๆ ในเอเชีย และไหลหลุดไปอยู่ในทะเลและเป็นอันตรายต่อสัตว์และพืชในน้ำ       
ตอนนี้ นักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและผู้ประกอบกิจการต่างๆ กำลังพยายามดำเนินงานในการแปรรูปพลาสติกให้กลับสู่สภาพสารประกอบเดิม คือ น้ำมัน     นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่าในบริเวณตอนเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิค มีขยะพลาสติกสุมอยู่มากมายก่ายกองเป็นบริเวณกว้างขวางใหญ่โตขนาดราวครึ่งหนึ่งของพื้นที่รัฐเท็กซัส หรือราว 1 ใน 4 ของพื้นที่ประเทศไทย คิดเป็นน้ำหนักรวมแล้วราว 300 ล้านตัน และกำลังเป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อสิ่งมีชีวิตในทะเล  นอกจากนั้น กระแสน้ำในมหาสมุทรยังมีขยะจากบริเวณตอนเหนือของเอเชีย และตอนเหนือของทวีปอเมริกาอีกด้วยกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมกลุ่มเล็กๆ กลุ่มหนึ่ง กับบรรดาผู้ประกอบกิจการจากฮ่องกง จากรัฐคาลิฟอร์เนียในสหรัฐ และจากกรุงลอนดอน จัดตั้งโครงการ Kaisei ขึ้นมาเพื่อแปรรูปขยะพลาสติกให้เป็นเชื้อเพลิงดีเซล คำว่า Kaisei เป็นภาษาญี่ปุ่น แปลว่า "โลกมหาสมุทร"Doug Woodring หัวหน้าโครงการนี้กล่าวว่า ปัญหาขยะพลาสติกนั้น ส่วนใหญ่อยู่ที่พลาสติกไม่ย่อยสลายทางชีวภาพ ไม่กลับสู่ธรรมชาติ แม้จะแตกสลายมีขนาดเล็กลง แต่เศษที่เหลืออยู่ยังเป็นอันตราย เพราะเหล่านก ปลา ปู เต่า สัตว์น้ำทั้งหลายมากินโดยนึกว่าเป็นอาหาร ด้วยเหตุนี้ จึงมีปัญหามากมายด้านสุขภาพ หรือสภาพของมหาสมุทรและสิ่งมีชีวิตในทะเลโครงการไคเซอี จะนำเรือออกไปยังบริเวณที่นักวิจัยเรียกกันว่า "วังวนขยะพลาสติค" เพื่อไปศึกษาเกี่ยวกับชีวิตในทะเล ปัญหาความเป็นพิษของสารต่างๆ ตลอดจนวิธีการกำจัดขยะพลาสติกในบริเวณนั้น  Doug Woodring กล่าวว่า มีเทคโนโลจีใหม่ๆ ที่สามารถแปรรูปขยะเหล่านั้นให้เป็นเชื้อเพลิงดีเซลได้ และว่าอย่างน้อย ก็จะทำให้มีช่องทางที่จะเก็บกวาดขยะพลาสติกในทะเลได้ในเวลาต่อไป หากสามารถนำเรือขนาดใหญ่ และแหอวนหรือตาข่ายขนาดใหญ่ออกไปยังบริเวณนั้นได้ในประเทศไทยนั้น มีการดำเนินงานแปรรูปขยะพลาสติกร่วมกับเทศบาลจังหวัดระยอง ซึ่ง บริษัทSingle Point Energy and Environment กำลังแปรรูปขยะพลาสติกให้เป็นเชื้อเพลิงเหลวแล้วขายให้แก่โรงกลั่นน้ำมัน  ดร. สันติวิภา พานิชกุล นักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่บริหารของบริษัทนี้กล่าวว่า เทคโนโลจีนี้ จะย่อยโมเลกุลขยะให้เป็นน้ำมันและก๊าซ ซึ่งเป็นการแปรรูปพลาสติกให้กลับสู่สภาพหรือรูปเดิม ในแต่ละวันโรงงานนี้สามารถแปรรูปขยะพลาสติกได้ถึง 10 ตัน ให้ออกมาเป็นเชื้อเพลิง ซึ่งนำมาใช้กับเครื่องจักรกล รถมอเตอร์ไซค์ และระบบทำความร้อนได้โดยตรง      ดร. สันติวิภา พานิชกุล กรรมการผู้จัดการบริษัท Single Point Energy and Environment กล่าวว่า ตั้งใจที่จะพยายามให้รัฐบาลรับดำเนินนโยบายการแปรรูปขยะพลาสติก ให้เป็นพลังงาน เพราะประเทศไทยมีขยะพลาสติกมากมาย ปีละราว 2 ล้าน 5 แสนตันเป็นอย่างน้อย     หลังจากได้รับการเตือนจากบรรดานักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม รัฐบาลประเทศต่างๆ ในเอเชียกำลังเริ่มเข้ามาดำเนินการกับปัญหาขยะพลาสติก  ฮ่องกงเรียกเก็บภาษีถุงพลาสติกใส่ของประเทศไทยกำลังศึกษาพิจารณาการเก็บภาษีพลาสติกที่ทำจากน้ำมัน และรัฐบาลของอีก 23 ประเทศกำลังดำเนินงานแปรรูปขยะพลาสติกให้เป็นพลังงานเชื้อเพลิงโดยตรง   ดร. สันติวิภา พานิชกุล กล่าวว่า แม้ว่าเครื่องแปรรูปขยะพลาสติกเครื่องหนึ่งๆ จะราคาค่อนข้างสูง คือตกราวเครื่องละ 2 ล้านดอลลาร์ แต่เทศบาลในสองเขตในประเทศไทย กำลังใช้เทคโนโลจีของบริษัทนี้ ซึ่งเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่า รัฐบาลประเทศต่างๆ ในเอเชียเต็มใจที่จะยอมจ่ายเงินจำนวนมากเพื่อทำให้สิ่งแวดล้อมสะอาดขึ้น

ตอบ 1
น้ำค้างเกิดจากการควบแน่นของไอน้ำบนพื้นผิวของวัตถุ ซึ่งมีการแผ่รังสีออกจนกระทั่งอุณหภูมิลดต่ำลงกว่าจุดน้ำค้างของอากาศซึ่งอยู่รอบๆ เนื่องจากพื้นผิวแต่ละชนิดมีการแผ่รังสีที่แตกต่างกัน ดังนั้นในบริเวณเดียวกัน ปริมาณของน้ำค้างที่ปกคลุมพื้นผิวแต่ละชนิดจึงไม่เท่ากัน
น้ำค้างคืออะไร 
น้ำค้าง (Dew) คือ หยดน้ำที่เกาะอยู่ตามใบหญ้า ใบไม้ หรือวัตถุที่วางอยู่ใกล้พื้นดิน
น้ำค้างจะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อ อุณหภูมิของอากาศใกล้พื้นดินต่ำลงถึงจุดน้ำค้าง ทำให้ไอน้ำในอากาศเกิดการกลั่นตัวเป็นหยดน้ำ(มักเกิดตอนใกล้รุ่ง)
จุดน้ำค้าง (Dew point) คือ จุดที่อุณหภูมิของอากาศที่อยู่รอบๆวัตถุต่ำลงจนเกิดน้ำค้างเกาะบนวัตถุนั้น


  ที่มา http://article.konmun.com/know361.htm361.htm
ตอบ 4
ปฏิกิริยาเคมี (Chemical reaction) คือกระบวนการที่เกิดจากการที่สารเคมีเกิดการเปลี่ยนแปลงแล้วส่งผลให้เกิดสารใหม่ขึ้นมาซึ่งมีคุณสมบัติเปลี่ยนไปจากเดิม การเกิดปฏิกิริยาเคมีจำเป็นต้องมีสารเคมีตั้งต้น 2 ตัวขึ้นไป (เรียกสารเคมีตั้งต้นเหล่านี้ว่า "สารตั้งต้น" หรือreactant)ทำปฏิกิริยาต่อกัน และทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในคุณสมบัติทางเคมี ซึ่งก่อตัวขึ้นมาเป็นสารใหม่ที่เรียกว่า "ผลิตภัณฑ์" (product) ในที่สุด สารผลิตภัณฑ์บางตัวอาจมีคุณสมบัติทางเคมีที่ต่างจากสารตั้งต้นเพียงเล็กน้อย แต่ในขณะเดียวกันสารผลิตภัณฑ์บางตัวอาจจะแตกต่างจากสารตั้งต้นของมันโดยสิ้นเชิง แต่เดิมแล้ว คำจำกัดความของปฏิกิริยาเคมีจะเจาะจงไปเฉพาะที่การเคลื่อนที่ของประจุอิเล็กตรอน ซึ่งก่อให้เกิดการสร้างและสลายของพันธะเคมีเท่านั้น แม้ว่าแนวคิดทั่วไปของปฏิกิริยาเคมี โดยเฉพาะในเรื่องของสมการเคมี จะรวมไปถึงการเปลี่ยนสภาพของอนุภาคธาตุ (เป็นที่รู้จักกันในนามของไดอะแกรมฟายน์แมน)และยังรวมไปถึงปฏิกิริยานิวเคลียร์อีกด้วย แต่ถ้ายึดตามคำจำกัดความเดิมของปฏิกิริยาเคมี จะมีปฏิกิริยาเพียง 2 ชนิดคือปฏิกิริยารีดอกซ์ และปฏิกิริยากรด-เบส เท่านั้น โดยปฏิกิริยารีดอกซ์นั้นเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของประจุอิเล็กตรอนเดี่ยว และปฏิกิริยากรด-เบส เกี่ยวกับคู่อิเล็กตรอน
ในการสังเคราะห์สารเคมี ปฏิกิริยาเคมีต่างๆ จะถูกนำมาผสมผสานกันเพื่อให้เกิดสารผลิตภัณฑ์ที่ต้องการ ในสาขาวิชาชีวเคมี เป็นที่ทราบกันว่า ปฏิกิริยาเคมีหลายๆ ต่อจึงจะก่อให้เกิดแนวทางการเปลี่ยนแปลง (metabolic pathway) ขึ้นมาเนื่องจากการที่จะสังเคราะห์ผลิตภัณฑ์โดยตรงนั้นไม่สามารถทำได้ในตัวเซลล์ในคราวเดียวเนื่องจากพลังงานในเซลล์นั้นไม่พอต่อการที่จะสังเคราะห์ ปฏิกิริยาเคมียังสามารถแบ่งได้เป็นปฏิกิริยาอินทรีย์เคมีและปฏิกิริยาอนินทรีย์เคมี
 ชนิดของปฏิกิริยาเคมี
ปฏิกิริยาเคมีนั้นสามารถจำแนกได้เป็นหลายชนิดและประเภท โดยหลักในการจำแนกนั้นขึ้นอยู่กับหลักเกณฑ์ที่จะนำไปใช้ในการจัดกลุ่มจำแนก แต่ส่วนมากแล้วจะแบ่งได้เป็น 5 ชนิดใหญ่ๆ ได้แก่
  • ปฏิกิริยาการรวมตัว หรือการสังเคราะห์ (Combination reaction หรือ synthesis) คือการที่สารบริสุทธิ์หรือสารประกอบทางเคมี รวมสารเข้าด้วยกันและก่อให้เกิดสารผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ที่ซับซ้อนกว่า
โครงสร้างA+Z → AZ
ตัวอย่างN2 + 3H2 → 2NH3
  • ปฏิกิริยาการสลายตัว หรือการวิเคราะห์ (Decomposition reaction หรือ analysis) คือการที่สารประกอบสลายตัวมาเป็นสารประกอบหรือสารบริสุทธิ์ที่เล็กกว่า
โครงสร้างAZ → A+Z
ตัวอย่าง: 2H2O → 2H2 + O2
  • ปฏิกิริยาการแทนที่เชิงเดี่ยว (Single displacement reaction หรือ substitution) คือการที่สารบริสุทธิ์ถูกแทนที่ด้วยสารประกอบ
  • ปฏิกิริยาการแทนที่เชิงคู่ (Double displacement reaction)
  • ปฏิกิริยาสะเทิน (Combustion)

ตอบ 2




ที่มา http://www.mwit.ac.th/~teppode/sheet_rate.pdf





 ข้อ 35.ตอบ 4.
สัญลักษณ์นิวเคลียร์ (nuclear symbol) เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงจำนวนอนุภาคมูลฐานของอะตอมด้วยเลขมวลและเลขอะตอม เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ดังนี้

โดยที่  X  คือ  สัญลักษณ์ธาตุ
            Z  คือ  เลขอะตอม (atomic number) เป็นจำนวนโปรตอนในนิวเคลียส
            A  คือ  เลขมวล (mass number) เป็นผลบวกของจำนวนโปรตอนกับนิวตรอน
สูตร   A = Z + N
โดยที่ N เป็นจำนวนนิวตรอน อะตอมของธาตุเป็นกลางทางไฟฟ้า (จำนวนโปรตอน = จำนวนอิเล็กตรอน)


ภาพที่ 7 การคำนวณหาอนุภาคมูลฐานของอะตอมจากสัญลักษณ์นิวเคลียร์
ตัวอย่างที่ 1 การหาอนุภาคมูลฐานของอะตอมจากสัญลักษณ์นิวเคลียร์
ดังนั้น อะตอมของธาตุปรอท (Hg)
           มีจำนวนโปรตอน = 80 อนุภาค
           อิเล็กตรอน = 80 อนุภาค
           และนิวตรอน = 201 - 80 = 121 อนุภาค
ที่มา http://nakhamwit.ac.th/pingpong_web/m&c_web/Content_07.html




ข้อ 36. ตอบ 2.


โปรตอน (อังกฤษproton จากภาษากรีก: πρώτον / proton = เริ่มแรก) คืออนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าเป็นบวกเกาะอยู่ในนิวเคลียสหรือใจกลางของธาตุเดียวกันจะมีจำนวนโปรตอนเท่ากัน เช่น ไฮโดรเจนเป็นธาตุตัวที่ 1 เบาที่สุดมีโปรตอนตัวเดียว โปรตอนเกิดจากควาร์ก up 2 และ down 1 มีประจุ +1.60x10-19 คูลอมบ์ มีน้ำหนัก 1.67x10-27 กิโลกรัม ฮีเลียมมี 2 ตัว เหล็กมี 26 ตัว ยูเรเนียมมี 92 ตัว
อิเล็กตรอนที่โคจรรอบอะตอมจะมีระดับพลังงานที่เสถียรอยู่จำนวนหนึ่งในลักษณะของวงโคจรอะตอม และสามารถเปลี่ยนแปลงระดับไปมาระหว่างกันได้โดยการดูดซับหรือปลดปล่อยโฟตอนที่สอดคล้องกับระดับพลังงานที่ต่างกัน อิเล็กตรอนเหล่านี้เป็นตัวกำหนดคุณสมบัติทางเคมีของธาตุ และมีอิทธิพลอย่างมากต่อคุณสมบัติทางแม่เหล็กของอะตอม มีประจุลบ เบากว่าอนุภาคทั้งสองชนิดแรกมาก เคลื่อนที่อย่างรวดเร็วอยู่รอบนิวเคลียสอะตอมเป็นองค์ประกอบพื้นฐานทางเคมีซึ่งไม่เปลี่ยนแปลงตามปฏิกิริยาเคมี ธาตุที่พบได้ตามธรรมชาติบนโลกนี้นั้นมีปรากฏอยู่ประมาณ 90 ชนิดเท่านั้น (นอกเหนือจากนี้มี ธาตุบางชนิดเช่น เทคนิเซียม และแคลิฟอร์เนียม ที่พบได้ในซูเปอร์โนวา และธาตุที่เลขอะตอมสูง (มากกว่า 100 ขึ้นไป) ที่สามารถสังเคราะห์ได้จาก การนำอะตอมมาชนกันด้วยความเร็วสูง)

ที่มาhttp://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A1


ข้อ 37 ตอบ 3.


ตารางธาตุในรูปเป็นแบบที่ใช้กันอยู่มากในปัจจุบัน แบ่งธาตุในแนวตั้งออกเป็น 18 แถวหรือ 18 หมู่ โดยธาตุทั้งหมด 18 แถว แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือกลุ่ม A และ B กลุ่ม A มี 8 หมู่ คือหมู่ IA ถึง VIIIA ส่วนกลุ่ม B ซึ่งอยู่ระหว่างหมู่ IIA และ IIIA มี 8 หมู่เช่นเดียวกัน คือ หมู่ IB ถึง VIIIB (แต่มี 10 แนวตั้ง) เรียกธาตุกลุ่ม B ว่า ธาตุทรานซิชัน
ธาตุในแต่ละหมู่ ของกลุ่ม A ถ้ามีสมบัติคล้ายกันจะมีชื่อเรียกเฉพาะหมู่ เช่น
ธาตุหมู่ IA เรียกว่า โลหะอัลคาไล (alkali metal) ได้แก่ Li , Na , K , Rb , Cs , Fr
ธาตุหมู่ IIA เรียกว่า โลหะอัลคาไลน์เอิร์ท (alkaline earth) ได้แก่ Be Mg Ca Sr Ba Ra
ธาตุหมู่ VIIA เรียกว่า ธาตุเฮโลเจน (halogen) ได้แก่ F Cl Br I At
ธาตุหมู่ที่ VIIIA เรียกว่า ก๊าซเฉื่อย (Inert gas) ได้แก่ He Ne Ar Kr Xe Rn

ที่มา http://www.kr.ac.th/tech/detchm48/table70.html



 ข้อ 38. ตอบ 3.


ไอออน คือ อะตอม, หรือกลุ่มอะตอม ที่มีประจุสุทธิทางไฟฟ้าเป็นบวก หรือเป็นลบ ไอออนที่มีประจุลบ จะมีอิเล็กตรอนในชั้นอิเล็กตรอน (electron shell) มากกว่าที่มันมีโปรตอนในนิวเคลียสเราเรียกไอออนชนิดนี้ว่า แอนไอออน (anion) เพราะมันถูกดูดเข้าหาขั้วแอโนด (anode) ส่วนไอออนที่มีประจุบวก จะมีอิเล็กตรอนน้อยกว่าโปรตอน เราเรียกว่า แคทไอออน (cation) เพราะมันถูกดูดเข้าหาขั้วแคโทด (cathode) กระบวนการแปลงเป็นไออน และสภาพของการถูกทำให้เป็นไออน เรียกว่า "ไอออไนเซชัน" (ionization) ส่วนกระบวนการจับตัวระหว่างไอออนและอิเล็กตรอนเข้าด้วยกัน จนเกิดเป็นอะตอมที่ดุลประจุแล้วมีความเป็นกลางทางไฟฟ้า เรียกว่า recombination แอนไอออนแบบโพลีอะตอมิก ซึ่งมีออกซิเจนประกอบอยู่ บางครั้งก็เรียกว่า "ออกซีแอนไอออน" (oxyanion)
ไอออนแบบอะตอมเดียวและหลายอะตอม จะเขียนระบุด้วยเครื่องหมายประจุรวมทางไฟฟ้า และจำนวนอิเล็กตรอนที่สูญไปหรือได้รับมา (หากมีมากกว่า 1 อะตอม) ตัวอย่างเช่น H+SO32-
กลุ่มไอออนที่ไม่แตกตัวในน้ำ หรือแม้ก๊าส ที่มีส่วนของอนุภาคที่มีประจุ จะเรียกว่า พลาสมา(plasma) ซึ่งถือเป็น สถานะที่ 4 ของสสาร เพราะคุณสมบัติของมันนั้น แตกต่างไปจากของแข็งของเหลว หรือก๊าซ
ไอออนนั้นมีความจำเป็นสำหรับชีวิต ไอออนของโซเดียม โพแทสเซียม และแคลเซียม และไอออนอื่นๆ มีบทบาทสำคัญในเซลของสิ่งมีชีวิต โดยเฉพาะในเซลเมมเบรน ไอออนเหล่านี้มีการใช้ในชีวิตประจำวันเป็นจำนวนมาก เช่น ตัวตรวจจับควัน และยังพบในการใช้เทคโนโลยีแบบใหม่ เช่น เครื่องยนต์ไอออน (ion engine) และปืนใหญ่แบบใช้ไอออน (ion cannon)



ที่มาhttp://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%84%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%99

 ข้อ 39. ตอบ 2.
สารประกอบ เป็นสารเคมีที่เกิดจากธาตุเคมีตั้งแต่สองตัวขึ้นไปมารวมตัวกันโดย พันธะเคมีด้วยอัตราส่วนของส่วนประกอบที่แน่นอน ตัวอย่าง เช่น ไดไฮโรเจนโมน็อกไซด์ หรือ น้ำ มีสูตรเคมีคือ H2Oซึ่งเป็นสารที่ประกอบด้วย ไฮโดรเจน 2 อะตอม และ ออกซิเจน 1 อะตอม
ในสารประกอบอัตราส่วนของส่วนประกอบจะต้องคงที่และตัวชี้วัดความเป็นสารประกอบที่สำคัญคือ คุณสมบัติทางกายภาพ ซึ่งจะแตกต่างจาก ของผสม(mixture) หรือ อัลลอย (alloy) เช่นทองเหลือง(brass) ซูเปอร์คอนดักเตอร์ YBCOสารกึ่งตัวนำ อะลูมิเนียม แกลเลียม อาร์เซไนด์(aluminium gallium arsenide) หรือ ซ็อกโกแลต (chocolate) เพราะเราสามารถกำหนดอัตราส่วนของ ของผสมได้
ตัวกำหนดคุณลักษณะเฉพาะของสารประกอบที่สำคัญคือ สูตรเคมี (chemical formula) ซึ่งจะแสดงอัตราส่วนของอะตอมในสารประกอบนั้นๆ และจำนวนอะตอมในโมเลกุลเดียว เช่น สูตรเคมีของ อีทีน (ethene) จะเป็นC2H4 ไม่ใช่ CH2) สูตรไม่ได้ระบุว่าสารประกอบประกอบด้วยโมเลกุล เช่น โซเดียมคลอไรด์ (เกลือแกง, NaCl) เป็น สารประกอบไอออนิก (ionic compound)



ที่มาhttp://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%9A

ข้อ 40. ตอบ 1.
เราอาศัยสมบัติของธาตุกัมมันตภาพรังสีที่ว่ามีการสลายตัวอยู่ตลอดเวลา  มาทำการศึกษาเกี่ยวกับด้านการเกษตรได้เป็นอย่างดี  ตัวอย่างเช่นการวิจัยเกี่ยวกับปุ๋ยเราใส่ปุ๋ยที่มีธาตุกัมมันตรังสีปนอยู่  เช่น  แล้วสังเกตดูอัตราการดูดซึมของปุ๋ยจากราก  รากจะดูดธาตุกัมมันตรังสีแล้วส่งต่อไปยังลำต้นและไปอยู่ที่ใบเพื่อรอการสังเคราะห์แสง   ( Photosynthesis  )  เราสามารถหาปริมาณปุ๋ยที่ใบได้โดยการตรวจวัด   ปริมาณของการแผ่รังสีของปุ๋ย      ที่ใบ  การศึกษาดังกล่าวนี้ทำให้ทราบอัตราการดูดซึมได้  อีกตัวอย่างหนึ่งเราใช้กัมมันตภาพรังสีจากไอโอดีน     กับโคนม  เราทราบว่าในการผลิตน้ำนมปริมาณน้ำนมที่โคผลิตได้ขึ้นอยู่กับการทำงานของต่อมไทรอยด์ ( Thyroid  )  ถ้าต่อมไทรอยด์ทำงานเพิ่มขึ้นปริมาณน้ำนมจะมีค่ามากขึ้น  แต่การทำงานของต่อมไทรอยด์ขึ้นอยู่กับปริมาณและอัตราการเก็บไอโอดีน  ดังนั้นการให้ไอโอดีนแก่โคนมจึงเป็นการกระตุ้นการทำงานของต่อมไทรอยด์ทำให้สามารถผลิตนมได้ตลอดเวลา
นอกจากนี้เราใช้การอาบกัมมันตภาพรังสีเพื่อเปลี่ยนแปลงพันธุ์พืชบางชนิดให้มีคุณภาพดีขึ้นเพราะว่ารังสีที่แผ่ออกมาจากธาตุกัมมันตภาพรังสีจะมีโคโมโซม  ( Chromosome  )  ในเมล็ดพันธุ์พืชเปลี่ยนไป  เมื่อนำเมล็ดไปเพาะเราจะได้พันธุ์ใหม่ซึ่งมีลักษณะต่างจากเดิมวิธินี้โอกาสที่จะได้พันธุ์พืชที่ดีมีไม่มาก   อย่างไรก็ตามในปัจจุบันเราสามารถได้พันธุ์พืชที่ดีหลายสิบชนิด  เช่น พันธุ์ไม้ดอก  และพันธุ์ไม้ผล  เป็นต้น 



ที่มา http://www.thainame.net/weblampang/kong/index8.html

3 ความคิดเห็น: