กิจกรรม 31 มกรา - 4 กุมภา 54





           ตอบ 2 ข ค และ ง
          อธิบาย     ปฏิกิริยาเคมี (chemical reaction) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่ทำให้เกิดสารใหม่ มีสมบัติต่างจากสารเดิม สารก่อนการเปลี่ยนแปลงเรียกว่า สารตั้งต้น (reactant) และสารที่เกิดใหม่เรียกว่า ผลิตภัณฑ์ (product)ในขณะที่เกิดปฏิกิริยาเคมี นอกจากได้สารใหม่แล้วยังอาจเกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านอื่นๆ อีกได้ เช่น การเปลี่ยนแปลงพลังงานตัวอย่างการเกิดปฏิกิริยาเคมีที่น่าสนใจเช่น
เมื่อนำลวดแมกนีเซียมใส่ลงในสารละลายกรดไฮโดรคลอริก เป็นปฏิกิริยาระหว่างโลหะ (แมกนีเซียม) กับกรด (กรดไฮโดรคลอริก) สารทั้งสองจะทำปฏิกิริยากัน



        

            ตอบ 2 B ผสมกับ C เกิดปฎิกิริยาดูดความร้อน
            อธิบาย     การปรับสมดุลย์ในเรื่องของอุณหภูมิครับ ไม่รู้ว่าจะอธิบายยังไง ยกตัวอย่างง่ายๆ ถ้าเราเอาน้ำแข็งใส่ในแก้วน้ำ  น้ำที่มีอุณหภูมิสูงกว่าน้ำแข็งจะมีปฏิกริยาคายความร้อนทำให้น้ำมีอุณหภูมอลดลง ในทางกลับกัน น้ำแข็งที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าจะมีอุณหภูมิสูงขึ้นเป็นปฏิกริยายดูดความร้อนเพื่อให้เกิดความสมดุลย์ระหว่างอุณหภูมิของน้ำกับน้ำแข็ง เมื่อน้ำแข็งละลายหมดเป็นสาถานะของเหลวมีอุณหภูมิเท่ากับน้ำในแก้ว ก็จะดูดความร้อนจากอากาศภายนอกจนมีอุณหภูมอสูงขึ้นเท่ากับอุณหภูมิห้อง
การคายความร้อนคือการถ่ายเทพลังงานความร้อนจากวัตถุให้กับสิ่งแวดล้อม เนื่องจากวัตถุมีพลังงานมากกว่าสิ่งแวดล้อม เมื่อมีพลังงานความร้อน (อุณหภูมิ) เท่ากันจะหยุดการถ่ายเท
ในทางกลับกันก็คือการดูดความร้อน





          ตอบ  4 น้อยกว่า7 สิ่งก่อสร้างที่ทำด้วยหินปูน หินอ่อน เสียหาย
          อธิบาย    
ฝนกรดสามารถละลาย Calcium carbonate ในหินเกิดการผุพัง เช่น ปิรามิดในประเทศอียิปต์ และ ทัชมาฮาลในประเทศอินเดีย
สารประกอบซัลเฟอร์สามารถกัดกร่อนวัสดุและสิ่งก่อสร้างต่างๆได รวมทั้งหินปูน หินอ่อน หินชนวน กระเบื้องหลังคา ปูนซีเมนต์ โดยเมื่อทำปฎิกิริยา จะกลายเป็น สารละลายเเคลเซียมซัลเฟตเกิดการสึกกร่อนขึ้น



           ตอบ 1 ก ข และ ค เท่านั้น
           อธิบาย    
กรดไฮโดรคลอริก หรือ กรดเกลือ (อังกฤษ: hydrochloric acid) เป็นสารประกอบเคมีประเภทกรดละลายในน้ำ โดยเป็นสารละลายของไฮโดรเจนคลอไรด์ (HCl) เป็นกรดแก่, เป็นส่วนประกอบหลักของกรดกระเพาะ (gastric acid) และใช้กันอย่างกว้างในอุตสาหกรรมเป็นของเหลวที่มีพลังการกัดกร่อนสูง
กรดไฮโดรคลอริก หรือ มูเรียติกแอซิด ถูกค้นพบโดย "จาเบียร์ เฮย์ยัน" (Jabir ibn Hayyan) ราวปี ค.ศ. 800 ช่วงปฏิวัติอุตสาหกรรม (Industrial Revolution) ถูกใช้อย่างกว้างขวางในการผลิตสารประกอบอินทรีย์ เช่น วีนิลคลอไรด์ สำหรับผลิต PVC พลาสติก และ MDI/TDI (Toluene Diisocyanate) สำหรับผลิต พอลิยูลิเทน, (polyurethane) และใช้ในการผลิตขนาดเล็กเช่น การผลิต เจนลาติน (gelatin) ใช้ปรุงอาหาร, และ ใช้ฟอกหนัง กำลังผลิตในปัจจุบันประมาณ 20 ล้านเมตริกตัน ต่อปี (20 Mt/a) ของก๊าซ




          ตอบ  2 
          อธิบาย      ไอโซโทป (อังกฤษ: isotope) คืออะตอมต่าง ๆ ของธาตุชนิดเดียวกัน ที่มีจำนวนโปรตอนหรือเลขอะตอมเท่ากัน แต่มีจำนวนนิวตรอนต่างกัน ส่งผลให้เลขมวลต่างกันด้วย และเรียกเป็นไอโซโทปของธาตุนั้น ๆ. ไอโซโทปของธาตุต่าง ๆ จะมีสมบัติทางเคมีฟิสิกส์เหมือนกัน ยกเว้นสมบัติทางนิวเคลียร์ที่เกี่ยวกับมวลอะตอม เช่น ยูเรเนียม มี 2 ไอโซโทป คือ ยูเรเนียม-235 เป็นไอโซโทปที่แผ่รังสี และยูเรเนียม-238 เป็นไอโซโทปที่ไม่แผ่รังสี



          ตอบ  4 มีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากัน
          อธิบาย     ในทาง วิชาเคมี คือ อิเล็กตรอน ที่อยู่ในวงโคจรของ อิเล็กตรอน ชั้นนอกสุดของอะตอม อิเล็กตรอน เหล่านี้จะมีส่วนร่วมใน ปฏิกิริยาเคมี ด้วย ธาตุที่มีอิเล็กตรอน ชั้นนอกสุดเต็มมักจะไม่ไวต่อปฏิกิริยา ส่วนธาตุที่มี อิเล็กตรอน ชั้นนอกสุดเกือบเต็มหรือเกือบว่างเช่นโลหะอะคาไล และ ฮาโลเจน จะมีความไวต่อปฏิกิริยา




          ตอบ  3
          อธิบาย     การละลายของสารในตัวทำละลายเกิดจากอนุภาคของสาร แทรกเข้าไปอยู่ระหว่างอนุภาคของตัวทำละลาย และเกิดแรงยึดเหนี่ยวซึ่งกันและกัน สารที่มีขั้วจะละลายได้ในตัวทำละลายที่มีขั้ว ส่วนสารที่ไม่มีขั้วจะละลายได้ดีในตัวทำละลายที่ไม่มีขั้ว เนื่องจากน้ำเป็นตัวทำละลายมีขั้วสารที่ละลายในน้ำจึงควรเป็นโมเลกุลมีขั้ว (Polar molecule) สารประกอบไฮโดรคาร์บอน เช่น เฮกเซน (C6H14)  เฮกซีน (C6H12)  และเบนซีน (C6H6)  เป็นโมเลกุลไม่มีขั้ว (Non polar molecule) มีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำ จึงไม่ละลายน้ำ แต่ละลายได้ในตัวทำละลายอินทรีย์ที่ไม่มีขั้ว




          ตอบ  4 สารประกอบไอออนิก A กับ C  สารประกอบโคเวเลนด์ A กับ E
          อธิบาย      ในทางเคมี สารประกอบไอออนิก เป็นสารประกอบเคมีที่เกิดจากโลหะ (ที่มีประจุบวก) กับอโลหะ (ที่มีประจุลบ) มารวมกันเป็นสารประกอบ (หรือเรียกว่าเป็นเกลือ) โดยยึดเหนี่ยวกันด้วยพันธะไอออนิก ซึ่งสารประกอบไอออนิกจะเป็นสารประกอบที่ไม่มีสูตรเคมี แต่สามารถเขียนสูตรอย่างง่ายได้ เพราะไอออนจะเกาะกันหลายตัว ส่วนใหญ่จะเป็น เกลือกับเบส แต่กรดจะเป็นสารประกอบโควาแลนซ์



          ตอบ  0.3 g/ min
          อธิบาย     เป็นธาตุในตารางธาตุที่มีสัญลักษณ์ Mg และเลขอะตอม 12 แมกนีเซียมเป็นธาตุที่มีอยู่มากเป็นอันดับ 8 และเป็นส่วนประกอบของเปลือกโลกประมาณ 2% และเป็นธาตุที่ละลายในน้ำทะเลมากเป็นอันดับ 3 โลหะอัลคาไลเอิร์ธตัวนี้ส่วนมากใช้เป็นตัวผสมโลหะเพื่อทำโลหะผสมอะลูมิเนียม-แมกนีเซียม



          ตอบ  5 วัน
          อธิบาย     อนุภาคมูลฐานของสสารหรือสารต่างๆที่ไม่อาจแบ่งแยกหรือเปลี่ยนแปลงให้เป็นสสารอื่นได้อนุภาคที่เล็กที่สุดของธาตุเรียกว่า อะตอม ซึ่งประกอบด้วยอิเล็กตรอนวิ่งวนรอบนิวเคลียสที่ประกอบด้วยโปรตอนและนิวตรอน
เลขอะตอมของธาตุ (ใช้สัญลักษณ์ Z) คือ จำนวนของโปรตอนในอะตอมของธาตุ ตัวอย่างเช่น เลขอะตอมของธาตุคาร์บอน นั้นคือ 6 ซึ่งหมายความว่า อะตอมของคาร์บอนนั้นมีโปรตอนอยู่ 6 ตัว ทุกๆอะตอมของธาตุเดียวกันจะมีเลขอะตอมเท่ากันเสมอ ซึ่งก็คือมีจำนวนโปรตอนเท่าๆกัน แต่อะตอมของธาตุชนิดเดียวกันอาจมีจำนวนนิวตรอนไม่เท่ากัน ซึ่งเรียกว่า ไอโซโทปของธาตุ มวลของอะตอม (ใช้สัญลักษณ์ A) นั้นวัดเป็นหน่วยมวลอะตอม (unified atomic mass units; ใช้สัญลักษณ์ u) ซึ่งเท่ากับผลรวมของจำนวนโปรตอน และ นิวตรอนในนิวเคลียสของอะตอม ธาตุบางประเภทนั้นจะเป็นสารกัมมันตรังสี และมีการเปลี่ยนแปลงเป็นธาตุชนิดอื่น เนื่องจากการสลายตัวทางกัมมันตภาพรังสี



          ตอบ  50 วินาที
          อธิบาย     คือธาตุเคมีที่มีหมายเลขอะตอม 53 และสัญลักษณ์คือ I ไอโอดีน (เป็นคำในภาษากรีก Iodes, มีความหมายว่า "สีม่วง") เป็นธาตุที่ไม่ละลายน้ำ มีความจำเป็นสำหรับสิ่งมีชีวิต สมบัติทางเคมีของไอโอดีนมีความไวน้อยกว่าธาตุในกลุ่มฮาโลเจนด้วยกัน ไอโอดีนมีประโยชน์ในทางการแพทย์ การถ่ายภาพ และสีย้อมผ้า




4 ความคิดเห็น: